วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครม.ให้ทำปฎิญญาระดับ"รมต."ในการประชุมUNFF9

ครม.ให้ทำปฎิญญาระดับ"รมต."ในการประชุมUNFF9

.: 
เนชั่น
 นพ.มารุต มัสยวานิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติครม.ว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการต่อประเด็นเตรียมการสำหรับประกอบการพิจารณาจัดทำปฏิญญาระดับรัฐมนตรีในการประชุม UNFF9 ซึ่งเสนอโดยสำนักงาน UNFF9 (Building Blocks for the UNFF9 Ministerial Declaration Proposed by the UNFF9 Bureau) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาให้การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
       ซึ่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการจัดทำคู่ฉบับแปล (ภาษาไทย) ของประเด็นเตรียมการสำหรับประกอบการพิจารณาจัดทำร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีในการประชุม UNFF9 ซึ่งเสนอโดยสำนักงาน UNFF9 (Building Blocks for the UNFF9 Ministerial Declaration Proposed by the UNFF9 Bureau) ซึ่งประกอบด้วย 8 ประเด็น สรุปสาระสำคัญของแต่ละประเด็นได้ดังนี้
       1. คุณค่าอเนกประโยชน์ของป่าไม้/ป่าไม้เพื่อประชาชน มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของป่าไม้ที่มีศักยภาพในการยังประโยชน์ให้แก่สังคมโลก บรรเทาปัญหาผลกระทบด้านต่าง ๆ โดยการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนจะนำมาซึ่งผลผลิต และบริการที่จำเป็นในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืน
       2. เครื่องมือที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายสำหรับป่าไม้ทุกประเภทและวัตถุประสงค์ของโลกด้านป่าไม้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายสำหรับป่าไม้ทุกประเภทและวัตถุประสงค์ของโลกด้านป่าไม้ หมายถึงข้อตกลงในระดับนานาชาติที่ครอบคลุมมุมมองด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญภายใต้การสนับสนุนของภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ (UNFF) ที่จะนำไปสู่ “ การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ”
       3. MOI. ธรรมรัฐ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนับสนุนประชาชนท้องถิ่น ชนพื้นเมือง และสตรี เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การแบ่งปันผลประโยชน์ และการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและคุณค่าทางสังคม โดยผ่านกระบวนการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศอื่น ๆ
       4. การเงิน มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนด้านการเงินสำหรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งในขณะนี้ ยังมีไม่เพียงพอ จึงนับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งสำหรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา
       5. ปีป่าไม้สากล มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของปีป่าไม้สากลซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษ สำหรับการนำภาคป่าไม้มามีส่วนใกล้ชิดกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงความสำคัญต่อบทบาทของป่าไม้ในการยังประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้เป็นอย่างดี
       6. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและการเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (REDD+) มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของภาคป่าไม้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการบรรเทาและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเด็นด้านความสามารถในการปรับตัว รวมถึงคุณค่าของภาคป่าไม้ในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ทั้งนี้ การสนับสนุนด้านการเงินต่อกลไก REDD+ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อโอกาสในการได้รับการสนับสนุนทางการเงินของภาคป่าไม้
       7. การประชุม Rio+20 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อคุณค่าที่หลากหลายของภาคการป่าไม้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และควรได้มีการนำไปปรับใช้ในประเทศต่าง ๆ ภายใต้มิติที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความจำเป็นเร่งด่วน และขีดความสามารถของแต่ละประเทศ เน้นมาตรการด้านคุณค่าเพิ่ม (Added - value) โดยเฉพาะด้านเครื่องมือที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายสำหรับป่าไม้ทุกประเภท และวัตถุประสงค์ของโลกด้านป่าไม้
       8. พันธกรณี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีของรัฐภาคีซึ่งกำหนดไว้ตามปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) ดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น