วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย

               1.   ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
-      ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร


                2.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

  1.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ
ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า

            - สาเหตุเกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินเกิดการพังทลายและไม่มีความอุดมสมบูรณ์และทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน




2.              ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคกลาง
ปัญหาการใช้ที่ดิน

          -      ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
          -      มีการปลูกพืชที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน


             3.     ปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของดิน

1.        ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเอียง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้ง่าย
2.        ความรุนแรงของลักษณะภูมิอากาศ เช่น แห้งแล้งมาก ร้อนมาก หรือมีน้ำหลากในช่วงเกิดพายุดีเปรสชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน
3.        ลักษณะเนื้อดินเป็นหินทรายน้ำซึมผ่านได้ง่าย จึงเกิดการพังทลายได้
4.        ขาดพืชปกคลุ่มดินเนื่องจากไม่มีป่าไม้เหลืออยู่
             
                 4.     ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย และมีพื้นที่ลาดเอียง ทำให้น้ำซึมอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่แม่น้ำลำธารอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพังทลายของดินทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน

-   ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า 
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การกระจายตัวของประชากร และการเพาะปลูกที่ผิดหลัก จนเป็นเหตุให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาถิ่นทำกิน

-   ปัญหาการเติบโตของชุมชนเมือง 
            ชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย ตามมามากขึ้น


            5.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก
                     ปัญหาการพังทลายของดิน

            ปัญหาการรับเอาวัฒนธรรมกระแสใหม่ในภาคตะวันออกกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ก่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแต่งกาย การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

               6.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ปัญหาในภาคตะวันตก 
                          ปัญหาการพังทลายของดิน 
            ภาคตะวันตกเป็นเขตภูเขา มักจะมีปัญหาการพังทลายของดินอย่างรุนแรง เนื่องจากการถางป่า โค่นป่า เพื่อเพาะปลูกแบบไร่เลื่อนลอย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ง่าย

                7.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้ 
                           ปัญหาการสูญเสียป่าชายเลน 

             เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเกษตรกรนากุ้งและการประมงชายฝั่ง
และปัญหานานานับไม่ถ้วน

                                     ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ    หมายถึง    สิ่งต่าง ๆ (สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน และกำลังแรงงานมนุษย์ เป็นต้น
   
-       เกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง
-       การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ถ้ายังไม่นำมาใช้ก็เป็นสิ่งแวดล้อม แต่ถ้านำมาใช้ประโยชน์            ได้ก็จะกลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเวลานั้น ๆ
-       สภาพภูมิศาสตร์และความห่างไกลของสิ่งแวดล้อม ถ้าอยู่ไกลเกินไปคนอาจไม่นำมาใช้ ก็จะไม่สามารถแปรสภาพเป็นทรัพยากรธรรมชาติได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น