วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

'ดินเยือกแข็ง' ละลาย

'ดินเยือกแข็ง' ละลาย


การละลายตัวของดินเยือกแข็งจะค่อยๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนับรวมกันอาจมีปริมาณหลายพันล้านตันเลยทีเดียว

นักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบของสา รอินทรีย์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกกักเก็บไว้ในดินเยือกแข็งแถบมลรั ฐอะแลสกา, แคนาดา, ยุโรปเหนือ และแคว้นไซบีเรีย

เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า เมื่อดินเยือกแข็งหรือเพอร์มาฟรอสต์เหล่านี้ละลาย สารอินทรีย์เหล่านี้ก็จะถูกจุลินทรีย์เปลี่ยนให้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งเพิ่มปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์นี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น แล้วยิ่งทำให้ดินเยือกแข็งละลายมากขึ้น ผลคือ อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งละลายมากขึ้น เป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ 

แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่า วงจรแบบนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อไรและอย่างไร

อย่างไรก็ดี บางคนบอกว่า เรื่องนี้ไม่น่ากลัว เพราะเมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะมีต้นไม้เกิดใหม่เพิ่มขึ้น แล้วต้นไม้ก็จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกร ะบวนการสังเคราะห์แสงเอง

ทีมวิจัยของเท็ด ชูร์ นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ศึกษาทุ่งทุนดราในบริเวณทะเลสาบเอทไมล์ในตอนกลางข องอะแลสกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดตามเก็บข้อมูลการละลายของ ดินเยือกแข็งมาตั้งแต่ปี 2533 

คณะของเขาได้นำถังที่ออกแบบเป็นพิเศษไปติดตั้งใน 3 จุด ซึ่งมีการละลายน้อย ปานกลาง และมาก ตั้งแต่ปี 2547-2549 ถังเหล่านี้ได้ตรวจวัดว่ามีคาร์บอนลอยขึ้นจากดินมากน อ้อยแค่ไหน และถูกพืชดูดซับไว้แค่ไหน

สุดท้ายได้ข้อสรุปว่า แม้พืชสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่ก็ดูดซับไม่หมด ดินเยือกแข็งสามารถปล่อยคาร์บอนออกมาปีละ 1,000 ล้านตัน 

นักวิจัยบอกว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 8,500 ล้านตัน แต่โดยทฤษฎีแล้วเป็นสิ่งที่มนุษย์ยังสามารถควบคุมได้ 

แต่การละลายของดินเยือกแข็งนั้น ยิ่งโลกร้อนขึ้นก็ยิ่งละลายเร็วขึ้น และไม่สามารถหยุดยั้งได้ด้วย การจะชะลอการละลายของดินเยือกแข็งซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนนั้นทำได้ 2 วิธี คือ หนึ่ง ลดการตัดไม้ทำลายป่า และสอง ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
จาก : X-cite ไทยโพสต์ คอลัมน์โลกน่ารู้ วันที่ 3 มิถุนายน 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น