วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมฉับพลันในโบลิเวีย มีผู้เสียชีวิต 30 คน

น้ำท่วมฉับพลันในโบลิเวีย มีผู้เสียชีวิต 30 คน

.: 
สำนักข่าวไทย
       ตำรวจโบลิเวียรายงานว่า กระแสน้ำเชี่ยวในแม่น้ำพัดรถโดยสารและรถบรรทุกที่พยายามข้ามฝั่ง ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 30 คน โดยไอเวอร์ มาร์เกซ ผู้บัญชาการตำรวจเมืองชูกีซากา กล่าวว่า อาสาสมัครกู้ภัยพบร่างผู้เสียชีวิต 30 คน คาดว่ายังมีหลายคนสูญหาย และมีผู้รอดชีวิต 13 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้ร่วมกับคนท้องถิ่นในพื้นที่ห่างไกลทางใต้ค้นหาผู้ประสบภัยเพิ่มเติม โดยรถทั้ง 2 คัน ติดอยู่กลางกระแสน้ำในแม่น้ำเมื่อคืนวันศุกร์ ทั้งนี้ เกิดลูกเห็บตกหนักหลายชั่วโมงก่อนหน้า ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และในบริเวณดังกล่าวไม่มีสะพาน

สุโขทัยประกาศ 3 อำเภอประสบภัยแล้งแล้ว

28 ม.ค. 54 สุโขทัยประกาศ 3 อำเภอประสบภัยแล้งแล้ว
www.manager.co.th


 สุโขทัย - แหล่งกักเก็บน้ำหลายพื้นที่ในจังหวัดสุโขทัยเริ่มแห้งขอด ส่งสัญญาณภัยแล้งมาเยือน ขณะที่จังหวัดฯ ประกาศ 3 อำเภอประสบภัยแล้ว
     
       พลตรีนิวัติชัย ถนอมธรรม ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก พร้อมด้วยนายวิเชียร พรมพิราม นายกเทศมนตรีตำบลศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ได้ร่วมกันออกสำรวจบ่อบาดาล ถังกักเก็บน้ำกลางหมู่บ้าน และระบบประปา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในช่วงหน้าแล้งนี้
     
       โดยเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่ 2 ตำบล 19 หมู่บ้าน ของเขตเทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย มีราษฎรเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว เนื่องจากแหล่งกักเก็บน้ำ และคลองสาขาแม่น้ำยม ที่อยู่ในพื้นที่ เริ่มมีสภาพแห้งขอด ระดับน้ำลดลงทุกวัน ทางจังหวัดทหารบกพิษณุโลก จึงได้เตรียมนำรถบรรทุกน้ำเข้าไปแจกจ่าย ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับราษฎรที่ประสบภัยดังกล่าว
     
       ขณะที่จังหวัดสุโขทัย ก็ได้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 3 อำเภอ ได้แก่ อ.กงไกรลาศ อ.ศีรีมาศ และ อ.บ้านด่านลานหอย

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

'ดินเยือกแข็ง' ละลาย

'ดินเยือกแข็ง' ละลาย


การละลายตัวของดินเยือกแข็งจะค่อยๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนับรวมกันอาจมีปริมาณหลายพันล้านตันเลยทีเดียว

นักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบของสา รอินทรีย์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกกักเก็บไว้ในดินเยือกแข็งแถบมลรั ฐอะแลสกา, แคนาดา, ยุโรปเหนือ และแคว้นไซบีเรีย

เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า เมื่อดินเยือกแข็งหรือเพอร์มาฟรอสต์เหล่านี้ละลาย สารอินทรีย์เหล่านี้ก็จะถูกจุลินทรีย์เปลี่ยนให้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งเพิ่มปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์นี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น แล้วยิ่งทำให้ดินเยือกแข็งละลายมากขึ้น ผลคือ อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งละลายมากขึ้น เป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ 

แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่า วงจรแบบนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อไรและอย่างไร

อย่างไรก็ดี บางคนบอกว่า เรื่องนี้ไม่น่ากลัว เพราะเมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะมีต้นไม้เกิดใหม่เพิ่มขึ้น แล้วต้นไม้ก็จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกร ะบวนการสังเคราะห์แสงเอง

ทีมวิจัยของเท็ด ชูร์ นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ศึกษาทุ่งทุนดราในบริเวณทะเลสาบเอทไมล์ในตอนกลางข องอะแลสกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดตามเก็บข้อมูลการละลายของ ดินเยือกแข็งมาตั้งแต่ปี 2533 

คณะของเขาได้นำถังที่ออกแบบเป็นพิเศษไปติดตั้งใน 3 จุด ซึ่งมีการละลายน้อย ปานกลาง และมาก ตั้งแต่ปี 2547-2549 ถังเหล่านี้ได้ตรวจวัดว่ามีคาร์บอนลอยขึ้นจากดินมากน อ้อยแค่ไหน และถูกพืชดูดซับไว้แค่ไหน

สุดท้ายได้ข้อสรุปว่า แม้พืชสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่ก็ดูดซับไม่หมด ดินเยือกแข็งสามารถปล่อยคาร์บอนออกมาปีละ 1,000 ล้านตัน 

นักวิจัยบอกว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 8,500 ล้านตัน แต่โดยทฤษฎีแล้วเป็นสิ่งที่มนุษย์ยังสามารถควบคุมได้ 

แต่การละลายของดินเยือกแข็งนั้น ยิ่งโลกร้อนขึ้นก็ยิ่งละลายเร็วขึ้น และไม่สามารถหยุดยั้งได้ด้วย การจะชะลอการละลายของดินเยือกแข็งซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนนั้นทำได้ 2 วิธี คือ หนึ่ง ลดการตัดไม้ทำลายป่า และสอง ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
จาก : X-cite ไทยโพสต์ คอลัมน์โลกน่ารู้ วันที่ 3 มิถุนายน 2552

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

30 วิธีง่าย ๆ ที่ทุกบ้านควรรู้อยู่กับโลกร้อน

30 วิธีง่าย ๆ ที่ทุกบ้านควรรู้อยู่กับโลกร้อ
วันจันทร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2010 เวลา 13:57 น.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ :



 "โลกร้อน" คำ ๆ นี้มีการพูดถึง หรือรณรงค์ให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อโลกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความแปรปรวนของอากาศ โรคร้ายเกิดใหม่ รวมไปถึงภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายบ่อยขึ้น เช่นเดียวกับบ้านเราที่ตอนนี้คาดการณ์กันว่า ปัญหาน้ำท่วมในหลาย ๆ จังหวัด ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำทะเลขยายตัวมากขึ้น

         อย่างไรก็ดี ถึงแม้วันนี้จะหยุดโลกร้อนไม่ได้แล้ว เพราะก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในชั้นบรรยากาศมีความเข้มข้นสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในช่วงเวลา 650,000 ปี แต่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะสถาบันที่สำคัญอย่างครอบครัวก็สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยของโลกได้ด้วย 30 วิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
       
       10 เรื่องง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน
       
       - ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ผอมใหม่ T5
       
       - ถ้าไม่ร้อนมากเกินไป ควรใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก็เปิดที่ 25 องศาเซลเซียส โดยตั้งเวลาเปิดเครื่องให้ทำงานเท่าที่จำเป็น
       
       - ปิดไฟในห้องนอนที่ไม่มีคนอยู่ ถอดปลั๊กทีวี วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง หรืออื่น ๆ เมื่อเลิกใช้งาน
       
       - อย่าใส่ของร้อนเข้าตู้เย็น หรือใส่ของจนเต็มตู้ และไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ หมั่นละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการทำงานของตู้เย็น
       
       - ใช้ไม้กวาด กวาดบ้าน ซักผ้าด้วยมือ ได้ออกกำลังกาย และประหยัดไฟกว่าใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า แต่ถ้าไม่มีเวลา ก็ควรซักเครื่องทีละมาก ๆ
       
       - ถ้ามีของใช้ในบ้านเสีย ควรหาทางซ่อมให้กับมาใช้ได้ใหม่ หรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในทางอื่น อย่าเพิ่งรีบทิ้ง หรือซื้อของใหม่
       
       - แยกขยะที่บ้านเป็น 2 ประเภท คือ ขยะเปียก (เศษอาหาร) ไว้ทำปุ๋ย กับขยะรีไซเคิลไว้ขายอาแปะซาเล้ง เช่น เศษกระดาษ พลาสติก แก้ว เป็นต้น
       
       - เก็บน้ำมันพืชที่ใช้แล้วไปขายที่ปั๊มน้ำมันบางจาก เพื่อนำไปทำไบโอดีเซล
       
       - ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้โถชักโครกแบบประหยัดน้ำ อย่าปล่อยให้มีน้ำรั่ว หากรั่วรีบซ่อมทันที
       
       - ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน มีพื้นที่น้อยก็ปลูกไม้กระถาง มีพื้นที่มากก็ปลูกไม้ยืนต้น

      10 วิธีเดินทางประหยัดพลังงาน
       
       - คิดเสมอว่า การเดิน เป็นวิธีเดินทางประหยัดพลังงานที่สุด และเป็นการออกกำลังกายด้วย
       
       - ขี่จักรยานไปตลาด หรือไปติดต่อธุระในสถานที่ใกล้บ้าน หรือถ้าที่ทำงานอยู่ใกล้ก็ขี่ไปทำงานเลยก็ได้
       
       - ใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถตู้ รถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และยังช่วยสร้างความต้องการให้เกิดบริการรถสาธารณะมากขึ้นในอนาคต
       
       - จะไปนอกเส้นทางปรกติ พยายามใช้รถแท็กซี่แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะมีรถแท็กซี่วิ่งตลอดเวลาอยู่แล้ว
       
       - ถ้าต้องขับรถยนต์ส่วนตัว ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. จะประหยัดน้ำมัน พยายามรักษาความเร็ว ไม่ควรเหยียบเบรก หรือเร่งเครื่องโดยไม่จำเป็น
       
       - หมั่นเช็กลมยางของรถยนต์ให้ตรงตามขนาดที่เหมาะสม เพราะถ้าลมยางอ่อนจะทำให้เปลืองน้ำมันมาก
       
       - ดับเครื่องเมื่อจอดรถเสมอ
       
       - สนับสนุนการใช้น้ำมันไบโอดีเซล หรือแก๊สโซฮอล์ แทนการใช้น้ำมันเบนซิน หรือดีเซล
       
       - จัดระบบ Car pool เช่น รวมกลุ่มคนอื่นซึ่งมีที่ทำงานอยู่ในทางเดียวกัน โดยให้นั่งรถยนต์คันเดียวกันแทนการขับรถยนต์ไปกันคนละคัน
       
       - การเดินทางไกล ๆ พยายามลดการเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะเครื่องบินปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเดินทางประเภทอื่น ๆ ถ้าเป็นไปได้ใช้รถไฟ หรือรถประจำทางแทน

      10 เรื่องต้องคิดก่อนจับจ่ายซื้อของ
       
       - ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้า ควรพกถุงผ้าติดตัวไว้ใส่ของเสมอ หรือบางครั้งอาจต้องพกถุงพลาสติกส่วนตัวไว้สำหรับใส่ของที่อาจเลอะเทอะได้
       
       - เลือกซื้อของมือสองแทนการซื้อของใหม่ มีของมือสองมากมายที่ใช้ได้ดี และราคาถูกเสียด้วย เช่น เสื้อผ้า หนังสือ วีซีดี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
       
       - ซื้อของที่บรรจุในขวดแก้วดีกว่าวัสดุแบบอื่น ๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำปลา ซอส เป็นต้น เพราะขวดแก้วน้ำกลับไปบรรจุซ้ำได้อีก
       
       - ไม่ซื้อของที่บรรจุในโฟม หรือใช้หีบห่อฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ถ้าต้องใช้โฟม หรือพลาสติกจริง ๆ พยายามหาพลาสติก หรือโฟมแบบที่ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ
       
       - พยายามเลือกของที่สามารถใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ไม่ควรซื้อของที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์จไฟได้แทนถ่านธรรมดาแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
       
       - ซื้อเครื่องกรองน้ำมาใช้แทนการซื้อน้ำขวด หรือถังน้ำ
       
       - ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และค่าประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า EER ไม่น้อยกว่า 10.6 (ยิ่งสูงยิ่งดี)
       
       - เลือกของที่ทำงานโดยต้องไม่ใช้ไฟฟ้า หรือถ่าน เช่น ที่โกนหนวดแบบธรรมดา นาฬิกาไขลาน หรือเครื่องใช้ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครื่องคิดเลข เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น
       
       - สนับสนุนสินค้าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ หรือของใช้อื่น ๆ เพราะสินค้าจากต่างประเทศต้องสิ้นเปลืองพลังงานขนส่งมากกว่า
       
       - คิดทบทวนก่อนจ่ายเงินซื้อของทุกครั้งว่า จำเป็นต้องใช้ของนั้นจริงหรือไม่ เราใช้ของที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง
       
       30 วิธีที่กล่าวมานี้ ถึงแม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องเดิม ๆ ที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว แต่หากค่อย ๆ ทำ และช่วยกัน ทีมงานเชื่อว่า มือเล็ก ๆ จากหลาย ๆ ครอบครัว สามารถบรรเทาอาการป่วยของโลกได้ไม่มากก็น้อย
       
       //////////////
       
       ข้อมูลประกอบข่าว
       
       การศึกษาภัยน้ำท่วมโดยคณะนักวิทยาศาสตร์แห่ง Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ในปี 2530 ได้คำพยากรณ์ว่า ในอนาคตอีก 100 ปี เมื่อโลกร้อนขึ้น และน้ำทะเลขยายตัว ระดับน้ำทะเลจะเพิ่ม 18-50 เซนติเมตร ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ได้พิจารณาการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ดังนั้น หนทางหนึ่งที่จะชะลอการเพิ่มระดับน้ำทะเล คือควบคุมอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลก ไม่ให้เพิ่มเกิน 1 องศาเซลเซียส ควบคุมปริมาณ CO2 ในอากาศให้ต่ำกว่า 450 ppm และถ้าทำได้โลกในอนาคตอีก 100 ปีก็จะปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม

หัก เงินอ้อยไฟไหม้-ทำลายสิ่งแวดล้อม

หัก เงินอ้อยไฟไหม้-ทำลายสิ่งแวดล้อม
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2011 เวลา 11:39 น.
ข่าวสดออนไลน์:

กำแพงเพชร - นายจิระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารส่วนท้องถิ่น เขต 6 กำแพงเพชร เปิดการประชุมคณะอนุกรรมการ

บริหารส่วนท้องถิ่นเขต 6 กำแพงเพชร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 โดยมีคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุมยกประเด็นการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย ปีการผลิต 2553/2554 พร้อมร่วมการพิจารณาในเรื่อง การล้างอ้อยของโรงงานน้ำตาล ขอความร่วมมือกำกับดูแลมิให้มีการนำอ้อยที่ปลูกในพื้นที่ที่มีสารแคดเมียมปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลทราย ดูแลปัญหาอ้อยไฟไหม้ 

ในส่วนการกำกับดูแลปัญหาอ้อยไฟไหม้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย แจ้งว่า การเผาอ้อยจะส่งผลเสียหายต่อเกษตรกร โรงงานน้ำตาลและระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทำให้คุณภาพอ้อยและประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทั้งนี้จะหักเงินอ้อยไฟไหม้ที่เข้าโรงงานตันละ 20 บาท เป็นกองทุนในการชดเชยให้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

โคลนถล่มบราซิล รุนแรงสุดรอบ 100 ปี แอฟริกาใต้น้ำท่วม

โคลนถล่มบราซิล รุนแรงสุดรอบ 100 ปี แอฟริกาใต้น้ำท่วม

 ริโอ เดอ จาเนโร (รอนเตอร์ส) - เว็บไซต์สำนักงานป้องกันภัยพลเรือนบราซิล รายงานว่า ผู้เสียชีวิตจากโคลนถล่มที่เกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่แถบภูเขาทางเหนือของเมืองริโอเพิ่มขึ้นเป็น 791 คน และมีผู้สูญหายอีก 430 คน ศูนย์ระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติระหว่างประเทศที่มีสำนักงานในเบลเยียม รายงานว่า เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตติดอันดับมากที่สุดในบราซิลก่อนหน้านี้บันทึกไว้เมื่อปี 2510 จากอุทกภัยที่มีผู้เสียชีวิต 785 คน ทั้งพื้นที่ส่วนในและรอบเมืองริโอ สำหรับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรง 10 อันดับ ของบราซิลได้รับการบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2443 จนถึงปัจจุบัน

 ส่วนที่แอฟริกาใต้ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากฝนตกหนักในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นเป็น 70 คน และไร้ที่อยู่อีก 8,400 คน ขณะที่รัฐบาลกำลังเร่งให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน โฆษกศูนย์ประสานงานของรัฐรายงานว่า จากการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านภัยพิบัติเพื่อประสานความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ เจ้าหน้าที่คาดว่า ความเสียหายจากอุทกภัยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 51 ล้านดอลลาร์ (1,565 ล้านบาท) ขณะที่โมซัมบิกมีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 10 คน และอีก 10,000 คน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ส่วนที่บอตสวานา นามิเบีย แซมเบีย และซิมบับเวได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยเช่นกัน แต่ยังไม่มีความเสียหายร้ายแรง

วันที่ 24/1/2011
http://www.norsorpor.com

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย

               1.   ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร
-      ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
-      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
-      ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
-      ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
-      ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร


                2.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

  1.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคเหนือ
ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า

            - สาเหตุเกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินเกิดการพังทลายและไม่มีความอุดมสมบูรณ์และทำให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน




2.              ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขภาคกลาง
ปัญหาการใช้ที่ดิน

          -      ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
          -      มีการปลูกพืชที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน


             3.     ปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของดิน

1.        ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดเอียง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้ง่าย
2.        ความรุนแรงของลักษณะภูมิอากาศ เช่น แห้งแล้งมาก ร้อนมาก หรือมีน้ำหลากในช่วงเกิดพายุดีเปรสชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน
3.        ลักษณะเนื้อดินเป็นหินทรายน้ำซึมผ่านได้ง่าย จึงเกิดการพังทลายได้
4.        ขาดพืชปกคลุ่มดินเนื่องจากไม่มีป่าไม้เหลืออยู่
             
                 4.     ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย และมีพื้นที่ลาดเอียง ทำให้น้ำซึมอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่แม่น้ำลำธารอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพังทลายของดินทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน

-   ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า 
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีพื้นที่ป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การกระจายตัวของประชากร และการเพาะปลูกที่ผิดหลัก จนเป็นเหตุให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาถิ่นทำกิน

-   ปัญหาการเติบโตของชุมชนเมือง 
            ชุมชนเมืองใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาขยะมูลฝอย ตามมามากขึ้น


            5.    ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคตะวันออก
                     ปัญหาการพังทลายของดิน

            ปัญหาการรับเอาวัฒนธรรมกระแสใหม่ในภาคตะวันออกกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ก่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป เช่น การแต่งกาย การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

               6.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการแก้ปัญหาในภาคตะวันตก 
                          ปัญหาการพังทลายของดิน 
            ภาคตะวันตกเป็นเขตภูเขา มักจะมีปัญหาการพังทลายของดินอย่างรุนแรง เนื่องจากการถางป่า โค่นป่า เพื่อเพาะปลูกแบบไร่เลื่อนลอย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งหรือน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้ง่าย

                7.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาในภาคใต้ 
                           ปัญหาการสูญเสียป่าชายเลน 

             เป็นปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเกษตรกรนากุ้งและการประมงชายฝั่ง
และปัญหานานานับไม่ถ้วน

                                     ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ    หมายถึง    สิ่งต่าง ๆ (สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน และกำลังแรงงานมนุษย์ เป็นต้น
   
-       เกิดจากความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง
-       การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ถ้ายังไม่นำมาใช้ก็เป็นสิ่งแวดล้อม แต่ถ้านำมาใช้ประโยชน์            ได้ก็จะกลายเป็นทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเวลานั้น ๆ
-       สภาพภูมิศาสตร์และความห่างไกลของสิ่งแวดล้อม ถ้าอยู่ไกลเกินไปคนอาจไม่นำมาใช้ ก็จะไม่สามารถแปรสภาพเป็นทรัพยากรธรรมชาติได้


ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ทรัพยากรดิน 
ชนิดของดิน สามารถจำแนกตามลักษณะของเนื้อดิน ได้ 3 ประเภท
1. ดินเหนียว  เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด มีธาตุอาหารอยู่มาก ดินเหนียวไถพรวนยากจึงไม่ค่อยเหมาะต่อการเพาะปลูก
2. ดินร่วน   เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด  เป็นดินที่ดูดธาตุอาหารที่นำเป็นต่อพืชได้ที เป็นดินที่เหมาะสมที่จะใช้ในการเพาะปลูก
3. ดินทราย  เป็นดินปนทรายอยู่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์  เป็นดินที่มีเนื้อหยาบ อุ้มน้ำได้น้อย และไม่สามารถดูดธาตุอาหารของพืชได้
ลักษณะทั่วไปของดินในประเทศไทย
                เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์  ขาดปุ๋ยที่เรียกว่า ฮิวมัส เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ทำให้อินทรีวัตถุสลายตัวเร็ว ประกอบกับมีฝนตกชุก จึงทำให้ดินมีสีเหลืองหรือสีแดงเป็นบริเวณกว้าง  แต่ในบริเวณที่เป็นเขตราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบหุบเขาในภาคเหนือ ถือว่าเป็นแหล่งดินที่สมบูรณ์ เพราะมีตะกอนธารน้ำพัดมาทับถมไว้มากและมีระยะเวลาในการพัฒนามานาน
                การใช้ที่ดินในประเทศไทย
                ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญและนำมาซึ่งปัจจัย 4 ในชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า พื้นที่ของประเทศไทยที่มีการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้ภูมิภาคที่มีพื้นที่ประสบปัญหามากที่สุด คือ ภาคเหนือ
                
ทรัพยากรน้ำ 
แล่งน้ำที่สำคัญในประเทศไทย
                1. ภาคเหนือ เป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบหุบเขา จึงมีต้นน้ำลำธารและมีแม่น้ำไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำนาน แม่น้ำอิง แม่น้ำกก และกว๊านพะเยา
                2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิวเขาล้อมรอบด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล มีแม่น้ำสายสั้นๆ เช่น แม่น้ำลำตะคอง แม่น้ำพระเพลิง เป็นต้น และยังมีบึงน้ำจืดอีกหลายแห่ง ได้แก่ หนองหาน จังหวัดสกลนคร หนองหารกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
                3. ภาคกลาง เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ เพราะมีแหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบึงน้ำจืดอีกหลาแห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ บึงสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นต้น
                4 ภาคตะวันตก    มีแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ซึ่งไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองและยังมีแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี
                5. ภาคตะวันออก มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำประแส แม่น้ำเวฬุ แม้น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด และแม่น้ำระยอง
                6. ภาคใต้ มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำตาปี แม่น้ำชุมพร แม่น้ำหลังสวน  เป็นต้น
                การใช้น้ำในประเทศไทย
                ส่วนใหญ่ใช้ไปในการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาซึ่งต้องอาศัยน้ำมาก ด้วยลักษณะภูมิอากาสในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำจึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อใช้บรรเทาและแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำอีกด้วย
ทรัพยากรแร่ธาตุ 
                ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติทางเคมีและทางฟิสิกส์ที่เฉพาะตัว แร่ธาตุที่ถูกค้นพบมีมากกว่า 2,000 ชนิด  สำหรับประเทศไทยมีการผลิตแร่ธาตุประมาณ 40 ชนิด ซึ่งแหล่งแร่ที่สำคัญส่วนใหญ่จะพบตามแนวเทือกเขาทางภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งมีแนวจากภาคเหนือลงไปสู่คาบสมุทรภาคใต้
                แร่และแหล่งแร่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
                1. แร่โลหะ แร่ที่สามารถนำมาถลุงแยกเอาโลหะออกมาใช้ประโยชน์ แร่ที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่
                1.1 ดีบุก มีความสำคัญและทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด ในอดีต แหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง ตรัง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย  ฯลฯ
                1.2 ทังสเตนหรือวุลแฟรม   มักเกิดร่วมกับดีบุก ใช้ผสมเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า มีความแข็งแรง  ทนทานสูง ทนกรด ทนความร้อนสูงได้ดี พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช
                1.3 ตะกั่วและสังกะสี มักจะพบร่วมกันในเตจังหวัดกาญจนบุรี ยะลา ตาก และแพร่
                1.4 เหล็ก แหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเลย ลพบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ และลำปาง
                1.5 ทองแดง  แหล่งแร่ทองแดงที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเลย นครราชสีมา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน
                1.6 ทองคำ บริเวรที่พบ ได้แก่ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรี
                1.7 แมงกานีส ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ ทำแบตเตอรี่ และใช้ในอุตสาหกรรมโลหะบริเวณที่พบ ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย นาน ฯลฯ
                2. แร่อโลหะ แร่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้เลยโดยไม่ต้องมีการถลุงแร่อโลหะที่สำคัญ ได้แก่
                2.1 ฟลูออไรต์  ใช้เป็นชื้อถลุงในการถลุงเหล็ก ใช้ผสมวัสดุเคลือบเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น
                2.2 แบไรต์ นำมาทำโคลนผง ใช้ในการเจาะสำรวจน้ำมันหรือน้ำบาดาล ใช้ในอุตสาหกรรมทำแม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมแก้ว ฯลฯ  แหล่งที่พบที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ลำปาง ฯลฯ
                2.3 ยิปซัม ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ แผ่นกันความร้อน ชอล์ก เป็นต้น แหล่งยิปซัมที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ ลำปาง ฯลฯ
                2.4 หินปูน ใช้ในการก่อสร้าง ทำปูนขาว  ทำปูนซีเมนต์ พบทุกภาคของประเทศ พบมากที่สุดจังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี  เพชรบุรี และนครราชศรีธรรมราช
                2.5 รัตนชาติ  ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่ ไพลิน ทับทิม บุษราคัม พบในจังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี และตราด
                3. แร่เชื้อเพลิง ที่สำคัญได้แก่
          3.1 ถ่านหิน  แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
                3.2 หินน้ำมัน แหล่งที่ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดตาก ลำพูน และกระบี่
                3.3 ปิโตรเลียม คือ น้ำมันดิบ แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งอนดามัน แหล่งอ่าวไทย แหล่งลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น
                3.4 ก๊าซธรรมชาติ  พบมากที่อ่าวไทย สามารถนำมาผลิตกกระแสไฟฟ้าและมีการแปรสภาพเป็นก๊าซหุงต้ม  และยังมีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติที่จังหวัดของแก่นอีกแห่งหนึ่งด้วย
                4. แร่นิวเคลียร์ คือ แร่ที่นำมาใช้ในกิจกรรมพลังงานปรมาณู มีทั้งแร่กัมมันตรังสีกับแร่ที่ไม่สามารถแผ่รังสีได้ แร่นิวเคลียร์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ แร่ในตระกูลยูเรเนียมกับแร่ในตระตู,ทอเรียม  พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
                
ทรัพยากรป่าไม้ 
ป่าไม้ คือ บริเวณที่ต้นไม่มีหลายขนาดและหลายชนิดที่อยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น
                การจำแนกประเภทของป่าไม้  สามารถจำแนกป่าไม่ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
                1.1 ป่าเบญจพรรณหรือป่ามรสุม  เป็นป่าโปร่ง จะประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิดรวมกัน พื้นป่าไม่รกทึบ ในฤดูแล้งต้นไม้เกือบทั้งหมดผลัดใบ มักมีไฟป่าบ่อยๆ  พันธ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ไม่สัก ไม่ประดู่ ไม้แดง ไม่มะค่า ไม่ตะแบก ไม่มะเกลือ เป็นต้น ซึ่งมีมากในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน
                1.2 ป่าแดง ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม่ขึ้นค่อนข้างหนาทึบ ป่าชนิดนี้มักขึ้นในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่  พันธุ์ไม่ที่สำคัญ เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม่เหียง ไม้พลวง เป็นต้น
                2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวตลอดทั้งปี  ป่าไม่ไม่ผลัดใบในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด คือ
                2.1 ป่าดงดิบ เป็นป่ารกทึบ มีพันธ์ไม้หลายชนิด ป่าชนิดนี้พบในบริเวณที่มีฝนตกชุก ไม่มีฤดูแล้งหรือมีฤดูแล้งสั้น เป็นป่าที่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม่ตะแบก ไม้พะยูน เป็นต้น มีมากในภาคใต้และภาคตอวันออก
                2.2 ป่าดิบเขา คล้ายป่าดงดิบแต่ไม่ค่อยรกทึบนัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม่สกุลก่อ นอกจากนี้ยังมีจำปาป่า มะขามป้อม เป็นป่าดิบที่ขึ้นอยู่ในที่สูง  มีความสำคัญในด้านการรักษาต้นไม่ลำธารอยู่มาก
                  2.3 ป่าสนเขา มีไม้สนพื้นเมืองขึ้นเป็นส่วนใหญ่ อยู่รวมกันเป็นหย่อมๆ และขึ้นไปในที่สูง สนพื้นเมืองในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ สนสองใบและสนสามใบ
                2.4 ป่าชายแลน เป็นป่าชายทะเลที่มีดินเลนและน้ำเค็มท่วมถึง มีคุณค่าสูงต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ ต้นไม้ที่ชอบน้ำเค็ม ได้แก่ ไม่โกงกาง ไม่แสมทะเล เป็นต้น  มีมากทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้
                พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ป่าไม้องประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อการครอบครอง รวมทั้งนโยบายการพัฒนาประเทศด้วยการสร้างเขื่อน เดินสายไฟฟ้าแรงสูง ฯลฯ แม้ว่าจะมีการปลูกป่าทดแทน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงทำให้การปลูกป่าทดแทนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง มีประโยชน์ต่อมนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้น  เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์จะเกิด และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสร้างใหม่ทดแทนได้  เป็นทรัพยากรที่นำมาใช้แล้วสามารถจะเกิดขึ้นมาใหม่ทดแทนได้  ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ เป็นต้น
3. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปจากโลกนี้  ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในแง่ของความสะดวกสบาย  เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะใช้เวลาสั้นๆ เช่น การงอกของเมล็ดพืชไปจนถึงการใช้เวลายาวนานเป็นพันปี เช่น แร่ธาตุ ๆ สิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดจะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เสมอ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต  เป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิต เช่น คน พืช สัตว์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เป็นสิ่งแวดลอมทางกายภาพจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้อยู่รวมกลุ่มของพวกมันเอง  หรือบางครั้งอาจจะอยู่รวมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็ได้

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

สมาชิกในกลุ่ม





นางสาวอุษา  รูปงาม  รหัสนักศึกษา  53124050231



นางสาวศศิวิมล  สุวรรณโชติ  รหัสนักศึกษา  53124050216

การบัญชีการเงิน  ห้อง 2  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี