ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษสิ่งแวดล้อม

 ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษสิ่งแวดล้อม

ความหมายของ ปัญหาสิ่งแวดล้อม

    1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจาการใช้ทรัพยากรของมนุษย์อย่างไม่ประหยัดและขาดความรับผิด
 ชอบก่อให้เกิดปัญหามลพิษและปัญหาอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อคน
จำนวนมากซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวไม่ เป็นที่พึงปรารถนาและควรมีการกระทำบางอย่างเพื่
อแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น

    2. ปัญหาเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
 เช่น ป่าไม้ ดิน แร่ธาตุ สัตว์ และพืช และปัญหาเสื่อมโทรมของคุณค่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์
เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้นรวมถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศตามธรรมชาติ
ตลอดจนปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมอันมี
สาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์

ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามการให้นิยามของ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
แบ่งเป็น
  
    1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่
            - ภาวะมลพิษ
            - ปัญหาความร่อยหรอของทรัพยากร
            - ปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกวิธี ขาดการอนุรักษ์

    2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่
            - ปัญหาความยากจน
            - ความขาดแคลนอาหาร
            - ที่อยู่อาศัย
            - ความไม่รู้หนังสือ
            - ความเจ็บไข้ ฯลฯ

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

    1. ปัญหาประชากร
        1) การเพิ่มจำนวนประชากร
        2) ขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
                (1) ด้านการเกษตรการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
                (2) ด้านอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้เครื่องจักรแทนคนก่อให้เกิด
                        - ปัญหาว่างงาน
                        - ขาดแคลนทรัพยากร
                (3) ด้านคมนาคม ความสะดวกสบายในการคมนาคมทำให้เกิดการจราจรติดขัดจาก
มีปริมาณการใช้มาก
                (4) สารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งนำมาใช้ในการถนอมอาหาร การสงคราม
        3) ความเชื่อและค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนอง
ความเชื่อและค่านิยมนั้น เช่น
                (1) การนิยมความฟุ่มเฟือย หรูหรา
                (2) มีความมักง่ายและความประมาท
                (3) ชอบความเป็นเอกเทศและความเป็นอิสระ
                (4) ความชื่นชอบสิ่งประดิษฐ์หรือความงามตามธรรมชาติ เช่น การปลูกสร้างอาคาร
ตามไหล่เขา
    
    2. การขยายตัวของเมือง เกิดจากภาวะหรือปัจจัยทางสังคมที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกัน
เข้ามา อยู่ในเขตเมือง ภาวะดังกล่าวได้แก่
        1) แรงดึง เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จาก ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา
เศรษฐกิจ ความสะดวกสบาย รายได้ต่อหัวของคนในเขตเมืองที่มีสูงกว่า จึงเป็นแรงดึงดูดคนจาก
ชนบทซึ่งมีโอกาสด้อยกว่า เข้ามาสู่เมืองมากขึ้น
        2) แรงดัน เป็นลักษณะที่พิจารณาได้จากสภาพ ปัญหาในชนบท เช่น ความยากจน จากการ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องอาศัยสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ได้รับการส่งเสริมไม่เพียงพอ จึงเสมือนเป็นแรงผลักดันให้ออกจากชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อแสวงหา
โอกาสที่ดีกว่า

    3. สภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะ พบว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรและสาเหตุการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
อื่นได้ก่อให้ เกิดสภาพการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เพราะขาดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งบาง
พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่ถูกสภาพการเป็นเมืองเข้าก่อสร้างซ้อนทับ มีผลทำให้ต้องแสวงหา
พื้นที่ทำการเกษตรใหม่ โดยบุกรุกพื้นที่ป่า

    4. การใช้เทคโนโลยีไม่เหมา ได้แก่การใช้สารเคมีในการเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงการใช้
เทคโนโลยีที่ไม่ถูก วิธี ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นกจากนี้การใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถ
ทำลายทรัพยากรได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบนิเวศถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การนำปะการังเก็บขึ้น
มาทำเป็นสินค้าที่ระลึก ทำให้สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย คุณภาพดินเสื่อมจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
และปุ๋ยเคมีในระยะเวลา
นาน ๆ อย่างต่อเนื่อง