วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ทรัพยากรดิน 
ชนิดของดิน สามารถจำแนกตามลักษณะของเนื้อดิน ได้ 3 ประเภท
1. ดินเหนียว  เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด มีธาตุอาหารอยู่มาก ดินเหนียวไถพรวนยากจึงไม่ค่อยเหมาะต่อการเพาะปลูก
2. ดินร่วน   เป็นดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด  เป็นดินที่ดูดธาตุอาหารที่นำเป็นต่อพืชได้ที เป็นดินที่เหมาะสมที่จะใช้ในการเพาะปลูก
3. ดินทราย  เป็นดินปนทรายอยู่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์  เป็นดินที่มีเนื้อหยาบ อุ้มน้ำได้น้อย และไม่สามารถดูดธาตุอาหารของพืชได้
ลักษณะทั่วไปของดินในประเทศไทย
                เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์  ขาดปุ๋ยที่เรียกว่า ฮิวมัส เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ทำให้อินทรีวัตถุสลายตัวเร็ว ประกอบกับมีฝนตกชุก จึงทำให้ดินมีสีเหลืองหรือสีแดงเป็นบริเวณกว้าง  แต่ในบริเวณที่เป็นเขตราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบหุบเขาในภาคเหนือ ถือว่าเป็นแหล่งดินที่สมบูรณ์ เพราะมีตะกอนธารน้ำพัดมาทับถมไว้มากและมีระยะเวลาในการพัฒนามานาน
                การใช้ที่ดินในประเทศไทย
                ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญและนำมาซึ่งปัจจัย 4 ในชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากการสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า พื้นที่ของประเทศไทยที่มีการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้ภูมิภาคที่มีพื้นที่ประสบปัญหามากที่สุด คือ ภาคเหนือ
                
ทรัพยากรน้ำ 
แล่งน้ำที่สำคัญในประเทศไทย
                1. ภาคเหนือ เป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบหุบเขา จึงมีต้นน้ำลำธารและมีแม่น้ำไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำนาน แม่น้ำอิง แม่น้ำกก และกว๊านพะเยา
                2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิวเขาล้อมรอบด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล มีแม่น้ำสายสั้นๆ เช่น แม่น้ำลำตะคอง แม่น้ำพระเพลิง เป็นต้น และยังมีบึงน้ำจืดอีกหลายแห่ง ได้แก่ หนองหาน จังหวัดสกลนคร หนองหารกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
                3. ภาคกลาง เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ เพราะมีแหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบึงน้ำจืดอีกหลาแห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ บึงสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นต้น
                4 ภาคตะวันตก    มีแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ซึ่งไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลองและยังมีแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี
                5. ภาคตะวันออก มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำประแส แม่น้ำเวฬุ แม้น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด และแม่น้ำระยอง
                6. ภาคใต้ มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำตาปี แม่น้ำชุมพร แม่น้ำหลังสวน  เป็นต้น
                การใช้น้ำในประเทศไทย
                ส่วนใหญ่ใช้ไปในการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาซึ่งต้องอาศัยน้ำมาก ด้วยลักษณะภูมิอากาสในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำจึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อใช้บรรเทาและแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำอีกด้วย
ทรัพยากรแร่ธาตุ 
                ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติทางเคมีและทางฟิสิกส์ที่เฉพาะตัว แร่ธาตุที่ถูกค้นพบมีมากกว่า 2,000 ชนิด  สำหรับประเทศไทยมีการผลิตแร่ธาตุประมาณ 40 ชนิด ซึ่งแหล่งแร่ที่สำคัญส่วนใหญ่จะพบตามแนวเทือกเขาทางภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งมีแนวจากภาคเหนือลงไปสู่คาบสมุทรภาคใต้
                แร่และแหล่งแร่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
                1. แร่โลหะ แร่ที่สามารถนำมาถลุงแยกเอาโลหะออกมาใช้ประโยชน์ แร่ที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่
                1.1 ดีบุก มีความสำคัญและทำรายได้ให้กับประเทศไทยมากที่สุด ในอดีต แหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง ตรัง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย  ฯลฯ
                1.2 ทังสเตนหรือวุลแฟรม   มักเกิดร่วมกับดีบุก ใช้ผสมเหล็กให้เป็นเหล็กกล้า มีความแข็งแรง  ทนทานสูง ทนกรด ทนความร้อนสูงได้ดี พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช
                1.3 ตะกั่วและสังกะสี มักจะพบร่วมกันในเตจังหวัดกาญจนบุรี ยะลา ตาก และแพร่
                1.4 เหล็ก แหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเลย ลพบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ และลำปาง
                1.5 ทองแดง  แหล่งแร่ทองแดงที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเลย นครราชสีมา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ และน่าน
                1.6 ทองคำ บริเวรที่พบ ได้แก่ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรี
                1.7 แมงกานีส ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ ทำแบตเตอรี่ และใช้ในอุตสาหกรรมโลหะบริเวณที่พบ ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย นาน ฯลฯ
                2. แร่อโลหะ แร่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้เลยโดยไม่ต้องมีการถลุงแร่อโลหะที่สำคัญ ได้แก่
                2.1 ฟลูออไรต์  ใช้เป็นชื้อถลุงในการถลุงเหล็ก ใช้ผสมวัสดุเคลือบเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น
                2.2 แบไรต์ นำมาทำโคลนผง ใช้ในการเจาะสำรวจน้ำมันหรือน้ำบาดาล ใช้ในอุตสาหกรรมทำแม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมแก้ว ฯลฯ  แหล่งที่พบที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ลำปาง ฯลฯ
                2.3 ยิปซัม ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ แผ่นกันความร้อน ชอล์ก เป็นต้น แหล่งยิปซัมที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ ลำปาง ฯลฯ
                2.4 หินปูน ใช้ในการก่อสร้าง ทำปูนขาว  ทำปูนซีเมนต์ พบทุกภาคของประเทศ พบมากที่สุดจังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี  เพชรบุรี และนครราชศรีธรรมราช
                2.5 รัตนชาติ  ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่ ไพลิน ทับทิม บุษราคัม พบในจังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี และตราด
                3. แร่เชื้อเพลิง ที่สำคัญได้แก่
          3.1 ถ่านหิน  แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ลำพูน กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
                3.2 หินน้ำมัน แหล่งที่ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดตาก ลำพูน และกระบี่
                3.3 ปิโตรเลียม คือ น้ำมันดิบ แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งอนดามัน แหล่งอ่าวไทย แหล่งลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น
                3.4 ก๊าซธรรมชาติ  พบมากที่อ่าวไทย สามารถนำมาผลิตกกระแสไฟฟ้าและมีการแปรสภาพเป็นก๊าซหุงต้ม  และยังมีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติที่จังหวัดของแก่นอีกแห่งหนึ่งด้วย
                4. แร่นิวเคลียร์ คือ แร่ที่นำมาใช้ในกิจกรรมพลังงานปรมาณู มีทั้งแร่กัมมันตรังสีกับแร่ที่ไม่สามารถแผ่รังสีได้ แร่นิวเคลียร์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ แร่ในตระกูลยูเรเนียมกับแร่ในตระตู,ทอเรียม  พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
                
ทรัพยากรป่าไม้ 
ป่าไม้ คือ บริเวณที่ต้นไม่มีหลายขนาดและหลายชนิดที่อยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น
                การจำแนกประเภทของป่าไม้  สามารถจำแนกป่าไม่ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
                1.1 ป่าเบญจพรรณหรือป่ามรสุม  เป็นป่าโปร่ง จะประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายชนิดรวมกัน พื้นป่าไม่รกทึบ ในฤดูแล้งต้นไม้เกือบทั้งหมดผลัดใบ มักมีไฟป่าบ่อยๆ  พันธ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ไม่สัก ไม่ประดู่ ไม้แดง ไม่มะค่า ไม่ตะแบก ไม่มะเกลือ เป็นต้น ซึ่งมีมากในภาคเหนือและภาคกลางตอนบน
                1.2 ป่าแดง ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม่ขึ้นค่อนข้างหนาทึบ ป่าชนิดนี้มักขึ้นในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่  พันธุ์ไม่ที่สำคัญ เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม่เหียง ไม้พลวง เป็นต้น
                2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวตลอดทั้งปี  ป่าไม่ไม่ผลัดใบในประเทศไทยมีอยู่ 4 ชนิด คือ
                2.1 ป่าดงดิบ เป็นป่ารกทึบ มีพันธ์ไม้หลายชนิด ป่าชนิดนี้พบในบริเวณที่มีฝนตกชุก ไม่มีฤดูแล้งหรือมีฤดูแล้งสั้น เป็นป่าที่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม่ตะแบก ไม้พะยูน เป็นต้น มีมากในภาคใต้และภาคตอวันออก
                2.2 ป่าดิบเขา คล้ายป่าดงดิบแต่ไม่ค่อยรกทึบนัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม่สกุลก่อ นอกจากนี้ยังมีจำปาป่า มะขามป้อม เป็นป่าดิบที่ขึ้นอยู่ในที่สูง  มีความสำคัญในด้านการรักษาต้นไม่ลำธารอยู่มาก
                  2.3 ป่าสนเขา มีไม้สนพื้นเมืองขึ้นเป็นส่วนใหญ่ อยู่รวมกันเป็นหย่อมๆ และขึ้นไปในที่สูง สนพื้นเมืองในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ สนสองใบและสนสามใบ
                2.4 ป่าชายแลน เป็นป่าชายทะเลที่มีดินเลนและน้ำเค็มท่วมถึง มีคุณค่าสูงต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ ต้นไม้ที่ชอบน้ำเค็ม ได้แก่ ไม่โกงกาง ไม่แสมทะเล เป็นต้น  มีมากทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้
                พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ป่าไม้องประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อการครอบครอง รวมทั้งนโยบายการพัฒนาประเทศด้วยการสร้างเขื่อน เดินสายไฟฟ้าแรงสูง ฯลฯ แม้ว่าจะมีการปลูกป่าทดแทน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงทำให้การปลูกป่าทดแทนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง มีประโยชน์ต่อมนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้น  เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นก่อนที่มนุษย์จะเกิด และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น
2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสร้างใหม่ทดแทนได้  เป็นทรัพยากรที่นำมาใช้แล้วสามารถจะเกิดขึ้นมาใหม่ทดแทนได้  ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ เป็นต้น
3. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปจากโลกนี้  ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในแง่ของความสะดวกสบาย  เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะใช้เวลาสั้นๆ เช่น การงอกของเมล็ดพืชไปจนถึงการใช้เวลายาวนานเป็นพันปี เช่น แร่ธาตุ ๆ สิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดจะอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เสมอ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต  เป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิต เช่น คน พืช สัตว์ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เป็นสิ่งแวดลอมทางกายภาพจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้อยู่รวมกลุ่มของพวกมันเอง  หรือบางครั้งอาจจะอยู่รวมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น